เกสต์เฮาส์ (guest house) คืออะไร?
เกสต์เฮาส์เป็นธุรกิจที่พักขนาดเล็กที่ให้บรรยากาศเหมือนพักในบ้าน โดยมีเจ้าของคอยดูแลใกล้ชิด ที่พักอาจเป็นบ้านเดี่ยวหรืออพาร์ตเมนต์ที่จัดแบ่งเป็นห้องพักหลายรูปแบบ ตั้งแต่ห้องเตียงเดี่ยวไปจนถึงห้องชุดส่วนตัวหลายห้อง โดยปกติเจ้าของจะพักอาศัยในบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียง แต่แยกสัดส่วนจากพื้นที่ของแขก
เกสต์เฮาส์เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเดินทางที่มองหาบรรยากาศการพักผ่อนที่ผ่อนคลายและอบอุ่น ธุรกิจเกสต์เฮาส์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งช่วยสร้างประสบการณ์ที่อบอุ่นและเป็นกันเองให้กับผู้เข้าพัก
All-in-one software for your guest house
Starting a guest house is one thing, but successfully running it is a whole other thing. Effortlessly make small property management easier with Little Hotelier.
Learn moreสนใจเปิดธุรกิจเกสต์เฮาส์?
หลายคนที่อยากเปิดเกสต์เฮาส์มักเริ่มจากการวาดฝันถึงรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้งในใจ การตกแต่งด้วยดอกไม้สดเพื่อต้อนรับแขก หรือเมนูอาหารเช้าที่อยากทำ บางคนอาจจินตนาการไปไกลถึงความสนุกที่จะได้พบปะผู้คนหลากหลายที่มาพัก และชีวิตที่น่าตื่นเต้นในการเป็นเจ้าของธุรกิจที่พัก
สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นในวงการธุรกิจที่พัก คงพอเห็นภาพว่ามีอีกหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้กว่าจะทำให้ความฝันเป็นจริงได้ ยิ่งถ้าไม่เคยมีประสบการณ์ในธุรกิจบริการมาก่อน ก็ยิ่งมีเรื่องให้ศึกษาอีกมาก
แต่อย่าให้สิ่งเหล่านี้มาหยุดความฝันของคุณ เพราะด้วยคำแนะนำที่ดี การวางแผนที่รอบคอบ และเป้าหมายที่ชัดเจน คุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจเกสต์เฮาส์และใช้ชีวิตในแบบที่ฝันได้จริง
บทความนี้จะช่วยให้คุณประเมินความพร้อมในการเริ่มต้นธุรกิจ พร้อมแนะนำขั้นตอนสำคัญในการเปิดและบริหารเกสต์เฮาส์อย่างมืออาชีพ
คำถามสำคัญก่อนเริ่มธุรกิจเกสต์เฮาส์
ไม่ใช่ทุกไอเดียดีๆ จะกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และบางครั้งความฝันอาจกลายเป็นฝันร้ายเมื่อต้องเผชิญกับความเป็นจริงในการดำเนินธุรกิจ
ก่อนจะเริ่มธุรกิจใดๆ ควรหยุดคิดและตั้งคำถามสำคัญกับตัวเองสักหน่อย
ลองใช้เวลาตอบคำถาม 5 ข้อต่อไปนี้อย่างจริงใจ
1. “แรงบันดาลใจ” ของคุณคืออะไร?
ทำไมคุณถึงอยากเปิดเกสต์เฮาส์? เป็นเพราะเคยไปพักแล้วประทับใจจนอยากมีเกสต์เฮาส์เป็นของตัวเอง หรือแค่ต้องการทำเงิน? อยากเป็นเจ้าของกิจการ? หรือเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งใหญ่?
ไม่ว่าเหตุผลจะเป็นอะไร การรู้ “แรงบันดาลใจ” ของตัวเองจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีทั้งในตอนนี้และอนาคต
2. ธุรกิจเกสต์เฮาส์เหมาะกับคุณจริงหรือไม่?
หากคุณไม่เคยทำธุรกิจเกสต์เฮาส์มาก่อน คุณรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองมีคุณสมบัติที่จะประสบความสำเร็จ
คนที่เหมาะกับธุรกิจนี้มักมีลักษณะดังนี้:
- เป็นคนเข้าสังคมเก่ง เป็นมิตร และพร้อมพูดคุยกับผู้อื่นเสมอ
- รับมือกับความกดดันได้ดีและทำหลายอย่างพร้อมกันได้
- มีไหวพริบ พร้อมลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อความสำเร็จ
- ไม่รังเกียจงานประจำ เช่น การทำอาหารและทำความสะอาด
- พร้อมเรียนรู้จากความผิดพลาด
- กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และรู้จักย่านที่ตั้งของเกสต์เฮาส์เป็นอย่างดี เพื่อให้คำแนะนำแก่แขกได้
3. ตอนนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเริ่มธุรกิจเกสต์เฮาส์หรือไม่?
การเลือกจังหวะเวลาที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นธุรกิจเกสต์เฮาส์
ลองมองให้ครบทุกมุม ทั้งสถานการณ์ส่วนตัว สภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม รวมถึงสถานการณ์โลก เพื่อประเมินว่านี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะก้าวกระโดดหรือไม่ คุณต้องพร้อมในทุกด้านเพื่อให้ธุรกิจของคุณเริ่มต้นได้อย่างมั่นคง
4. คุณมีความพร้อมด้านการเงินในการทำธุรกิจเกสต์เฮาส์หรือไม่?
คุณมีเงินทุนเพียงพอที่จะเริ่มธุรกิจเกสต์เฮาส์หรือไม่? ความจริงคือคุณจำเป็นต้องมีเงินทุนตั้งต้น และต้องสร้างรายได้ให้เพียงพอกับการใช้ชีวิตที่คุณวางแผนไว้
คุณต้องประเมินต้นทุนในการเริ่มต้นและรายได้ที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละสัปดาห์ให้ชัดเจน แผนธุรกิจจะช่วยตอบคำถามด้านการเงิน พร้อมทั้งทำความเข้าใจตัวชี้วัดรายได้หลัก 3 ตัวของธุรกิจเกสต์เฮาส์ ได้แก่ อัตราค่าห้องพักเฉลี่ย อัตราการเข้าพัก และรายได้ต่อห้องที่มี (RevPAR)
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของคุณด้วย คุณวางแผนทำธุรกิจนี้เพื่อเป็นรายได้เสริมหรือไม่? หรือคุณต้องการมุ่งเน้นที่ผลกำไรเป็นหลัก?
5. คุณพร้อมบริหารเกสต์เฮาส์หรือไม่?
เกสต์เฮาส์และแขกของคุณต้องการการดูแลเอาใจใส่ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการเช็คอิน จัดการการจอง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว การบริหารงบประมาณ การทำอาหาร งานซ่อมบำรุง แม่บ้าน การตลาด และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แขก – มีหลายอย่างที่ต้องจัดการ!
หากคุณไม่มีแรงจูงใจมากพอหรือไม่ได้รักในการเป็นเจ้าของเกสต์เฮาส์จริงๆ การจัดการทุกอย่างอาจกลายเป็นความยากลำบากได้
ต้นทุนในการสร้างเกสต์เฮาส์
ต้นทุนในการสร้างเกสต์เฮาส์นั้นไม่มีคำตอบตายตัว ดังนั้นขั้นตอนแรกของแผนธุรกิจคือการทำความเข้าใจเงินลงทุนเริ่มต้นที่จำเป็น
ต้นทุนการสร้างเกสต์เฮาส์แตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น:
- สร้างใหม่หรือรีโนเวทของเดิม: คุณจะเริ่มสร้างใหม่ทั้งหมด หรือมีอาคารที่พร้อมรีโนเวทเป็นเกสต์เฮาส์อยู่แล้ว?
- ทำเลที่ตั้ง: เกสต์เฮาส์ในชนบทมีต้นทุนต่ำกว่าในเมืองใหญ่ แต่หากอยู่ห่างไกลมาก อาจมีค่าใช้จ่ายสูงในการขนส่งวัสดุและจ้างแรงงาน
- ขนาด: คุณวางแผนผังเกสต์เฮาส์ไว้อย่างไร? จะรองรับแขกได้กี่คนในเวลาเดียวกัน? จะมีห้องพักแบบรวมหรือส่วนตัว?
- สิ่งอำนวยความสะดวก: สระว่ายน้ำ ห้องเกม และพื้นที่พักผ่อนอาจดึงดูดแขกได้ แต่ก็เพิ่มต้นทุนในช่วงเริ่มต้นด้วย
จากที่กล่าวไปข้างต้น คำว่า ‘เกสต์เฮาส์’ มีความหมายหลากหลาย ตั้งแต่บ้านดัดแปลงไปจนถึงอาคารพาณิชย์ ต้นทุนในการลงทุนนั้นแตกต่างกันอย่างมากตามปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะทำเลที่ตั้ง เช่น ในกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต จะมีต้นทุนสูงกว่าจังหวัดรอง
การคำนวณต้นทุนที่แท้จริงนั้นต้องพิจารณาให้ละเอียด นอกจากค่าที่ดินและก่อสร้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงค่าใบอนุญาตโรงแรม การตกแต่งภายใน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการให้บริการ จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและศึกษาตลาดในพื้นที่ที่สนใจอย่างละเอียด
ทางเลือกที่น่าสนใจคือการซื้อกิจการเกสต์เฮาส์ที่ดำเนินการอยู่แล้ว หรือซื้ออาคารที่สามารถรีโนเวทเป็นเกสต์เฮาส์ได้ง่าย วิธีนี้มักประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนมากกว่าการเริ่มสร้างใหม่ทั้งหมด
วิธีเริ่มต้นธุรกิจเกสต์เฮาส์
หลังจากตัดสินใจที่จะเปิดเกสต์เฮาส์ มาดูกันว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้แผนนี้เป็นจริง
ขั้นที่ 1: สร้าง ซื้อ หรือรีโนเวทเกสต์เฮาส์
การเริ่มต้นธุรกิจเกสต์เฮาส์มีหลายวิธี สิ่งแรกที่ต้องตัดสินใจคือจะสร้างอาคารใหม่ ซื้อเกสต์เฮาส์ที่เปิดอยู่แล้ว หรือดัดแปลงตัวอาคารที่มีอยู่เดิมให้เป็นเกสต์เฮาส์
หากเลือกสร้างใหม่ทั้งหมด คุณสามารถออกแบบที่พักตามไอเดียของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนห้องพักที่ต้องการ สิ่งอำนวยความสะดวกที่อยากมี และสไตล์การตกแต่งที่ชอบ ทั้งหมดนี้สามารถนำมาพิจารณาตั้งแต่การเลือกที่ดิน การก่อสร้าง และการตกแต่งห้องพัก
การเริ่มต้นจากศูนย์อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีเรื่องให้ตัดสินใจมากมาย ทั้งการขออนุญาตก่อสร้างและใบอนุญาตต่างๆ แต่ข้อดีคือคุณสามารถสร้างเกสต์เฮาส์ในแบบที่คุณต้องการได้อย่างแท้จริง
การซื้อเกสต์เฮาส์ที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วก็มีข้อดีเช่นกัน คุณสามารถเริ่มบริหารกิจการได้ทันที แต่ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะเรื่องกระแสเงินสดและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ควรตรวจสอบระบบการทำงานและรายชื่อซัพพลายเออร์ที่มีอยู่ พร้อมทั้งพิจารณาว่าต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และถ้าเจ้าของเดิมยินดีให้คำแนะนำและสอนงานในช่วงเริ่มต้น ก็จะเป็นประโยชน์มาก
อีกทางเลือกหนึ่งคือการใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ หรือซื้อที่พักมาดัดแปลงเป็นเกสต์เฮาส์ หากเลือกวิธีนี้ ต้องศึกษาให้ดีว่าต้องปรับปรุงอะไรบ้างและต้องใช้งบประมาณเท่าไร
ไม่ว่าจะเลือกวิธีไหน มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจ:
- ทำเลที่ตั้ง: ทำเลนี้เหมาะสมหรือไม่? แขกจะสนใจมาพักหรือเปล่า?
- ฤดูกาลท่องเที่ยว: มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวตลอดทั้งปีหรือไม่? และมีแผนรับมือช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวอย่างไร?
- ขนาดพื้นที่: ขนาดเหมาะสมกับการทำเกสต์เฮาส์หรือไม่? มีพื้นที่พอสำหรับขยายกิจการในอนาคตไหม?
- ต้นทุน: เมื่อคำนวณตัวเลขแล้ว วิธีไหนคุ้มค่าที่สุด?
- กฎระเบียบและขั้นตอนทางกฎหมาย: แถวนี้อนุญาตให้เปิดเกสต์เฮาส์หรือไม่ (ควรสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง)
ขั้นตอนที่ 2: การจัดทำแผนธุรกิจเกสต์เฮาส์
แม้จะดูเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่การเตรียมแผนธุรกิจที่ครอบคลุมจะเป็นรากฐานสำคัญในการเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เมื่อแยกย่อยออกมาแล้ว การทำแผนธุรกิจไม่ได้ยากอย่างที่คิด
แผนธุรกิจควรเริ่มต้นด้วยองค์ประกอบ 3 ข้อนี้:
- วิสัยทัศน์: คุณมองภาพใหญ่ของเกสต์เฮาส์ในอนาคตไว้อย่างไร?
- พันธกิจ: เกสต์เฮาส์ของคุณมีไว้เพื่ออะไร? และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือใคร?
- เป้าหมาย: เป้าหมายหลักคืออะไร? และจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร?
การพัฒนาแผนธุรกิจเกสต์เฮาส์
ขั้นตอนต่อไปในการเริ่มธุรกิจเกสต์เฮาส์ขนาดเล็ก: การจัดทำแผนธุรกิจ
แผนธุรกิจคือการรวบรวมข้อมูลสำคัญทั้งหมดในการเริ่มต้นธุรกิจเกสต์เฮาส์ โดยจะเป็นแนวทางให้คุณสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ จนสามารถสร้างธุรกิจที่พร้อมดำเนินงานได้อย่างสมบูรณ์
ในการจัดทำแผนธุรกิจ คุณจำเป็นต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดในประเด็นต่อไปนี้:
อุตสาหกรรมและคู่แข่ง
ศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจคู่แข่งและกลุ่มลูกค้าที่จะมาใช้บริการที่พักของคุณ การเข้าใจภาพรวมตลาดจะช่วยให้คุณกำหนดจุดขายที่แตกต่าง (USP) ได้ชัดเจน อะไรคือความโดดเด่นที่จะทำให้ลูกค้าเลือกที่พักของคุณแทนคู่แข่ง? การกำหนด USP ที่ชัดเจนจะเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจ
บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก จัดทำรายการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะมีไว้บริการแขก หากไม่แน่ใจว่าควรเริ่มจากตรงไหน ลองเข้าไปดูเว็บไซต์จองที่พักและสำรวจว่าเกสต์เฮาส์ที่เป็นคู่แข่งโดยตรงของคุณเขามีบริการอะไรกันบ้าง
บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
จัดทำรายการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะมีไว้บริการแขก หากไม่แน่ใจว่าควรเริ่มจากตรงไหน ลองเข้าไปดูเว็บไซต์จองที่พักและสำรวจว่าที่พักในระดับเดียวกันมีบริการอะไรบ้าง
การดำเนินงานและการบริหารจัดการ
สร้างนโยบาย ขั้นตอนการทำงาน รายการตรวจสอบ และแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อช่วยให้การดำเนินงานประจำวันเป็นไปอย่างราบรื่น ต้องคำนึงถึงระบบเช็คอินและเช็คเอาต์ การทำความสะอาดห้องพัก การรับชำระเงิน การบริหารบุคลากร การจัดการซัพพลายเออร์ มาตรฐานการบริการ ระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน
อีกประเด็นสำคัญคือวิธีการขายและบริหารจัดการห้องพัก วางแผนช่องทางการขายห้องพัก ทั้งการทำเว็บไซต์ของตัวเอง หรือการใช้บริการ OTA ต่างๆ
การตลาด
เริ่มจากการออกแบบภาพลักษณ์แบรนด์ของที่พักให้โดดเด่นและจดจำง่าย ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ โทนสี และรูปแบบตัวอักษรที่จะใช้ในเว็บไซต์และเอกสารต่างๆ จากนั้นวางแผนว่าจะสื่อสารจุดเด่นอะไรของที่พักในการทำการตลาด
สำหรับธุรกิจเกสต์เฮาส์ การตลาดดิจิทัลถือเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการเริ่มต้นและขยายธุรกิจ ลองพิจารณาช่องทางต่างๆ ดังนี้:
- การตลาด Content marketing
- โซเชียลมีเดีย
- การตลาดผ่านอีเมล
- รีวิวออนไลน์
- การทำ SEO
การเงิน
สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีเงินทุนเพียงพอสำหรับการเริ่มต้น และสามารถสร้างกำไรหรืออย่างน้อยต้องไม่ขาดทุนในการดำเนินธุรกิจ การวางแผนการเงินที่ดีคือการคำนวณตัวเลขอย่างรอบคอบ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีหรือที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อช่วยจัดทำแผนการเงินที่รัดกุม
ตัวอย่างแผนธุรกิจเกสต์เฮาส์
แผนธุรกิจที่ดีควรมีหน้าตาอย่างไร? ตัวอย่างแผนธุรกิจเกสต์เฮาส์ฉบับนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าควรมีข้อมูลอะไรบ้างในแผนธุรกิจของคุณ
- บทสรุปผู้บริหาร: บทนำสั้นๆ ที่อธิบายภาพรวมธุรกิจของคุณ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่ง ประเด็นที่ต้องพิจารณา โอกาสทางธุรกิจ และสถานะทางการเงิน
- ธุรกิจ: อธิบายรายละเอียดธุรกิจของคุณ ทั้งเหตุผลในการดำเนินธุรกิจ สถานะทางการเงิน และการเปรียบเทียบกับคู่แข่งโดยตรง
- โอกาสทางธุรกิจ: อธิบายโอกาสที่มีอยู่ (พร้อมข้อมูลสนับสนุน) และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ
- แผนการดำเนินงาน: อธิบายวิธีที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจ ทั้งด้านการตลาด การขาย การดำเนินงาน และการเงิน
- แผนการเงิน: จัดทำการพยากรณ์ทางการเงินที่แสดงรายรับรายจ่าย กำไรขาดทุนในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า พร้อมงบดุลและงบกระแสเงินสดที่คาดการณ์ไว้
ขั้นตอนที่ 3: เตรียมพร้อมต้อนรับแขก
ก่อนวันเปิดให้บริการจริง ควรเริ่มประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนรู้จักและสนใจที่พักของคุณ โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางที่ดีในการบอกข่าว และให้แขกได้เห็น “เบื้องหลัง” การเตรียมงานก่อนวันเปิดตัว
อีกเรื่องสำคัญคือการทำเว็บไซต์ให้พร้อมใช้งาน เว็บไซต์ควรมีดีไซน์สวยงามและให้ข้อมูลที่แขกต้องการ ทั้งวิธีการจองห้องพักและสิ่งที่แขกจะได้รับระหว่างเข้าพัก
นอกจากนี้ คุณต้องเตรียมห้องพักให้พร้อม ทั้งผ้าปูที่นอนคุณภาพดี การทาสีใหม่หากจำเป็น ระบบเตือนควันไฟและอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นๆ รวมถึงการตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ ที่จะทำให้ห้องพักอบอุ่นและน่าอยู่
แน่นอนว่ายังมีงานเล็กๆ น้อยๆ อีกมากมายที่ต้องจัดการก่อนต้อนรับแขก เพื่อไม่ให้ตกหล่นอะไร ควรทำรายการสิ่งที่ต้องทำตามแผนธุรกิจ จัดลำดับความสำคัญ และขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
เคล็ดลับและคำแนะนำในการบริหารเกสต์เฮาส์ให้ประสบความสำเร็จ
เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจแล้ว คุณยังต้องเรียนรู้อีกมาก แต่ 8 เคล็ดลับต่อไปนี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงอุปสรรคใหญ่ๆ และเติบโตทางธุรกิจได้เร็วขึ้น:
1. ทำความเข้าใจแขกของคุณ
แขกที่มาพักคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ และเป็นเหตุผลที่ทำให้เกสต์เฮาส์ของคุณอยู่ได้ ยิ่งเข้าใจลูกค้าได้ดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้คุณปรับปรุงการบริหารและการตลาดได้ดีขึ้นเท่านั้น ลองสังเกตพฤติกรรม รับฟังความต้องการ และทำความเข้าใจว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร มีความคาดหวังอะไรบ้างตั้งแต่วินาทีแรกที่เดินเข้ามา
2. สื่อสารให้ชัดเจน
การสื่อสารที่ไม่ดีมักเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ เตรียมช่องทางติดต่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย และเวลาทำสื่อหรือเนื้อหาอะไร ก็ลองมองจากมุมของลูกค้าว่าเขาจะเข้าใจหรือไม่
3. มีเว็บไซต์ที่ดึงดูดใจ
เว็บไซต์เปรียบเสมือนหน้าร้านออนไลน์ที่สร้างความประทับใจแรกให้กับลูกค้า ต้องออกแบบให้สะท้อนความเป็นตัวตนของที่พัก นำเสนอจุดเด่น ใส่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และทำให้การจองห้องพักเป็นเรื่องง่าย
4. ให้ความสำคัญกับรีวิว
ผลสำรวจชี้ว่า 8 จาก 10 ของนักท่องเที่ยวต้องอ่านรีวิวก่อนจองที่พักเสมอ และกว่าครึ่งไม่กล้าจองที่พักที่ไม่มีรีวิว ดังนั้นอย่าลืมขอรีวิวจากลูกค้าที่ประทับใจ โดยแนะนำให้รีวิวผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Tripadvisor, Google หรือ Facebook
5. ใส่ใจทุกความคิดเห็น
ทุกคำติชมล้วนมีค่า เสียงชื่นชมช่วยยืนยันว่าเรากำลังทำอะไรได้ดี และควรพัฒนาต่อยอดอย่างไร ส่วนคำติเป็นโอกาสให้เราได้ปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องได้ทันท่วงที
6. รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวมักใช้ที่พักเป็นฐานในการเที่ยว แนะนำทั้งสถานที่ยอดฮิตและจุดเด็ดลับๆ ที่คนท้องถิ่นรู้จัก จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับการเข้าพัก
7. ใส่ใจเรื่องความสะอาด
ห้องพักที่ไม่สะอาดคือจุดที่แย่ที่สุดในสายตาลูกค้า และมักถูกพูดถึงในรีวิวออนไลน์ทันที ต้องรักษามาตรฐานความสะอาดให้สูงกว่าบ้านตัวเอง และหมั่นตรวจเช็คเพื่อแก้ไขปัญหาก่อนที่ลูกค้าจะพบเจอ
8. อัพเดทความรู้ในวงการ
แม้จะเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ต้องดูแลทุกอย่างเอง แต่การติดตามข้อมูลข่าวสารในวงการก็สำคัญ แนะนำให้ติดตาม Little Hotelier’s blog เพื่อเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ ในการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์สำคัญในการวางแผนบริหารเกสต์เฮาส์
เมื่อต้องบริหารเกสต์เฮาส์ เราไม่สามารถทำทุกอย่างที่อยากทำได้หมด เพื่อไม่ให้รู้สึกท้อ ลองมาโฟกัสที่ 3 ด้านหลักนี้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น:
การขายและช่องทางจัดจำหน่าย
มีหลายช่องทางในการขายห้องพัก คุณต้องหาวิธีที่ได้ผลและสร้างกำไรที่ดีที่สุด เริ่มต้นจากเว็บไซต์ของตัวเองและโซเชียลมีเดียก่อน โดยลงทุนระบบจองออนไลน์ที่ใช้งานง่าย
ถ้าคุณมีห้องพักไม่มากและมีผู้ติดตามในโซเชียลเยอะ แค่นี้อาจเพียงพอแล้ว แต่ถ้าต้องการเพิ่มอัตราการเข้าพัก การร่วมมือกับ OTA ก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะช่วยให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้มากกว่าที่จะทำเองหลายเท่า
Google Hotel Ads เป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาที่พักในพื้นที่ของคุณ
หากใช้หลายช่องทาง แนะนำให้ใช้ Channel Manager เพื่อจัดการการจองให้ง่ายขึ้น
การตลาด
แม้จะไม่มีงบการตลาดมหาศาลเหมือนโรงแรมใหญ่ๆ แต่ยุคนี้เราก็สามารถทำแคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพได้
มาโฟกัส 4 จุดสำคัญในการทำการตลาดเกสต์เฮาส์กัน:
1. จุดขายที่โดดเด่น
ตั้งแต่ขั้นวางแผน คุณต้องรู้จุดขายของตัวเอง อะไรที่ทำให้ที่พักคุณแตกต่างจากที่อื่น ทำไมลูกค้าถึงควรเลือกพักที่นี่ สิ่งเหล่านี้ต้องสื่อสารผ่านการตลาดให้ชัดเจน
2. ทำเลที่ตั้ง
มีวิวสวยๆ ใช่ไหม? อย่าลืมโชว์ในโซเชียลมีเดีย และกระตุ้นให้แขกแท็กที่พักคุณในโพสต์
3. กลุ่มลูกค้า
อย่าลืมว่าคุณกำลังสื่อสารกับใคร ไม่ว่าจะเลือกสีแบรนด์ สร้างคอนเทนต์ หรือออกแบบเว็บไซต์ ต้องใช้ภาษาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และสื่อสารตรงๆ ให้เข้าใจง่าย
4. เครื่องมือการตลาดดิจิทัล
มีเครื่องมือให้เลือกมากมาย ทั้งโซเชียลมีเดีย คอนเทนต์ อีเมลมาร์เก็ตติ้ง และ SEO เลือกใช้เครื่องมือที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณจริงๆ ไม่ใช่แค่ตามคนอื่นหรือตามคำแนะนำลอยๆ
การบริหารรายได้
การบริหารรายได้คือการตั้งราคาให้เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้สูงสุด ฟังดูง่าย แต่จะทำอย่างไรให้ห้องเต็มในขณะที่ราคาอยู่ในจุดที่ลูกค้ายอมจ่าย?
ยิ่งต้องคำนึงถึงแต่ละช่วงของปีที่คนนิยมเที่ยว หลายช่องทางการขาย และห้องพักที่แตกต่างกัน ก็ยิ่งซับซ้อนขึ้น
แต่ด้วยกลยุทธ์ที่ถูกต้อง คุณสามารถหาจุดที่เหมาะสมระหว่างราคาและรายได้ได้ ลองพิจารณาการตั้งราคาแบบต่างๆ นี้:
- ราคามาตรฐานที่กำหนดตามประเภทห้องและจำนวนผู้เข้าพัก
- ส่วนลดสำหรับกลุ่มที่จองหลายห้อง
- ส่วนลดพิเศษสำหรับนักศึกษา อินฟลูเอนเซอร์ หรือกลุ่มเฉพาะ
- แพ็กเกจที่รวมทัวร์หรืออาหารเช้า
- ปรับราคาสูงขึ้นในช่วงวันหยุด ไฮซีซั่น หรือเทศกาลต่างๆ
- โปรโมชั่นราคาพิเศษนาทีสุดท้าย
By Dean Elphick
คณบดีเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเนื้อหาอาวุโสของ Little Hotelier ซึ่งเป็นโซลูชันซอฟต์แวร์แบบ All-in-One ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ชีวิตของผู้ให้บริการที่พักขนาดเล็กง่ายขึ้น คณบดีได้สร้างการเขียนและสร้างเนื้อหาความหลงใหลของเขาที่มีต่อชีวิตการทำงานทั้งหมดของเขาซึ่งรวมถึงกว่าหกปีที่ Little Hotelier ผ่านเนื้อหาคณบดีมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การศึกษาแรงบันดาลใจความช่วยเหลือและในที่สุดความคุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่พักขนาดเล็กที่ต้องการปรับปรุงวิธีการดำเนินงานของพวกเขา (และใช้ชีวิต)
Table of contents
Matteo Marocco,
General Manager
La Dama del Porto